ควรขายเหล็กของโครงสร้างบ้านคอนกรีตเสริมเหล็กแบบไหน

การขายเหล็กของโครงสร้างบ้านคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นโครงสร้างที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมาช้านาน ซึ่งใช้ “เหล็กเส้น” เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างประเภทนี้ ใช้ทำส่วนต่างๆ ของบ้าน ได้แก่ เสา คาน พื้น รวมถึงงานผนังก่ออิฐ โดยหน้าที่ของเหล็กเส้นในโครงสร้าง ค.ส.ล. คือการรับแรงดึง ในขณะที่คอนกรีตทำหน้าที่รับแรงอัดหรือแรงกด ซึ่งนอกจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเหล็กเส้นที่ต่างกันจะส่งผลเรื่องความสามารถ ในการรับแรงดึงของงานโครงสร้างแล้ว ส่วนประกอบทางเคมีในเนื้อเหล็กแต่ละประเภทก็มีผลในการรับแรงเช่นกัน เรียกว่า “ค่ากำลังรับแรงดึง” หรือ “ค่ากำลังรับแรงดึงที่จุดคราก” มีหน่วยเป็น “กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (กก./ ตร.ซม. หรือ ksc) ซึ่งในการที่จะสร้างบ้านควรเลือกใช้และขายเหล็กให้เหมาะสม และควรเลือกซื้อให้ถูกต้องเพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างบ้านและอาคารที่เราอยู่อาศัยเพื่อสิ่งที่เราปลูกสร้างจะได้อยู่กับเราไปนานๆ

การขายเหล็กเส้นมี 2 ประเภท ดังนี้

ประเภทของเหล็กเส้น

  1. เหล็กเส้นกลม (Round Bar หรือ RB)

ลักษณะของเหล็กเส้นกลมภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 และ 9 มม. หรือที่ช่างมักเรียกว่า เหล็ก 3 หุน และ เหล็ก 4 หุน ตามลำดับ สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 15, 19 และ 20 มม. ต้องสั่งซื้อพิเศษ โดยเหล็กเส้นกลมแต่ละขนาดจะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตร การใช้งานและขายเหล็กเส้นกลมจะใช้กับโครงสร้างพื้นหล่อกับที่, ครีบ ค.ส.ล. ที่ยื่นจากตัวบ้าน, งานหล่อเคาน์เตอร์ รวมถึงงานเสาเอ็น คานเอ็น (ทับหลัง) ของผนังก่ออิฐ และทำหน้าที่เป็นเหล็กยึดผนังเข้ากับเสาเพื่อป้องกันผนังล้มที่เรียกว่า “เหล็กหนวดกุ้ง”

  1. เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar หรือ DB)

ลักษณะของการขายเหล็กข้ออ้อย คือเหล็กเส้นกลมที่มีบั้ง หรือครีบเป็นปล้อง ๆ ตลอดทั้งเส้น โดยครีบหรือปล้องจะมีลักษณะต่าง ๆ ตามผู้ผลิตแต่ละราย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่มีขายโดยทั่วไปคือ 12 และ 16 มม. สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 10, 20, 25 และ 28 มม. ต้องสั่งซื้อพิเศษ โดยเหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาด จะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตรเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อยนั้นจะถูกเลือกใช้ในงานโครงสร้างหลักประเภท เสา, คาน, บันได, ผนังรับน้ำหนัก รวมถึงบ่อ หรือสระน้ำต่าง ๆ เพราะมีค่ากำลังรับแรงดึงมากกว่าเหล็กกลม และด้วยพื้นผิวที่ไม่เรียบจึงช่วยยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีตได้ดีกว่า